
ตราสัญลักษณ์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
สำนักบริหารงานการศึกษาพิศษ
อักษรย่อ ศกศ.บร.
สีประจำสถานศึกษา สีม่วง สีเหลือง
อักษรย่อ
ศกศ.บร.
สีประจำสถานศึกษา
สีม่วง สีเหลือง
ต้นไม้ประจำศูนย์
สุพรรณิการ์
“สถานศึกษาที่ให้บริการทางการศึกษาในลักษณะบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อมของคนพิการ สนับสนุนในด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดสื่อสิ่งอำนวยความ สะดวก สื่อ การให้บริการและความช่วยเหลือเกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดครูเดินสอนแก่คนพิการและโรงเรียน”
ที่ตั้ง เลขที่ 215 หมู่ 11 หมู่บ้านโพธิ์ศรีสุข ตำบลอิสาณอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2568 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ขยายโอกาสทางการศึกษา พัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม โดยครูมืออาชีพ ภายใต้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
รูปแบบการให้บริการทางการศึกษา
1.การให้บริการแบบไป-กลับ ที่ศูนย์ฯ
2.การให้บริการที่หน่วยบริการ
3.การให้บริการตามบ้าน
4.การให้บริการที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล (โรงพยาบาลบุรีรัมย์)
บทบาทและหน้าที่
1.จัดและส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ในลักษณะ ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervent) และเตรียมความพร้อมของคนพิการเพื่อเข้าสู่่ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเรียนร่วม โรงเรียนเฉพาะ ความพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนา และฝึกอบรมผู้ดูแลคนพิการ บุคลากรที่ จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
3. จัดระบบและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized: IEP)
4. จัดระบบบริการช่วงเชื่อมต่อสำหรับคนพิการ (Transitional Services)
5. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัว และชุมชน ด้วยกระบวนการทางการศึกษา
6. เป็นศูนย์ข้อมูล รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ
7. จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรียนร่วม และประ สานงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในจังหวัด
8. ภาระหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ ได้รับมอบหมาย
กว่าจะเป็น ศกศ.บร.



คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ได้เห็นชอบในหลักการ มาตรการ และยุทธศาสตร์การดําเนินงานและโครงสร้าง การบริหารงานของการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ และประกาศให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ทําหน้าที่ นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ จัดทําและจัดสรร งบประมาณให้แก่สถานศึกษา ประสานงานกับ หน่วยงานในพื้นที่และให้บริการการศึกษาพิเศษ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง ศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เพื่อให้บริการช่วยเหลือ ระยะแรกเริ่มแก่คนพิการในพื้นที่เขตบริการ ให้ คําแนะนําและการเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ เพื่อให้สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะความ พิการและโรงเรียนจัดการเรียนรวมให้มากขึ้น และทั่วถึง ประสานงานการจัดการเรียนรวม ในพื้นที่ สนับสนุนสื่อสิ่งอํานวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตลอดทั้งปฏิบัติหน้าที่ให้คําปรึกษา แนะแนว จัดทําสถิติ ข้อมูล และบริการด้านการศึกษา พิเศษแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์การศึกษาพิเศษประจํา จังหวัดบุรีรัมย์ ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม พัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมคนพิการที่จําแนกตาม ความพิการเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 9 ประเภท คือ
1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
8. บุคคลออทิสติก
9. บุคคลพิการซ้อน



ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง สถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด

ประมวลภาพบรรยากาศภายในและภายนอก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์





























